วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

Old Red Blood Cells May Double Mortality In Trauma Patients

จาก เวบไซต์ Science daily
23 กันยายน 2552

ผู้ป่วย severe trauma ที่ต้องมีการให้เลือด มีแนวโน้มตายเพิ่มเป็นสองเท่าถ้าเลือดที่ได้รับเป็นเม็ดเลือดแดงเก่าที่เก็บไว้มากกว่า 1 เดือน

Severe trauma patients requiring a major transfusion are twice as likely to die if they receive red blood cells stored for a month or longer, according to research published in BioMed Central's open access journal Critical Care. The increased rate of death was measured up to six months post transfusion which is consistent with previous reports in cardiac surgery patients.

Philip Spinella and Christopher Carroll, both pediatric intensivists from Connecticut Children's Medical Center, Hartford, Connecticut, USA and their team studied 202 severe trauma patients treated at Hartford Hospital following a critical injury with five or more units of red blood cells.
They found that even one unit of red blood cells stored more than 28 days doubled the incidence of deep vein thrombosis and increased death secondary to multiple organ failure. Though medical experts had long suspected that older red blood cells caused complications, this is one of the first studies to strongly support this dramatic link.

This study differs from previous studies since the amount of RBC units transfused to the fresh and old RBC study groups were equal. As a result, this eliminated the major criticism of previous studies that it is the amount of RBCs transfused not the storage age that was affecting outcomes.

Over 29 million units of blood were transfused in the United States in 2004, and this is a routine and reliable part of trauma care treatment around the world. However, red blood cell transfusion continues to be associated with adverse complications.

This study provides evidence that allows doctors to reduce these risks by giving fresher red blood cells to severe trauma patients who need these major transfusions for life-saving procedures.

According to Spinella, 'The preferential use of younger RBCs to critically ill patients has the potential to increase waste due to outdating. Since blood is often a scarce resource this is important and methods need to be developed to minimize waste while providing the most efficacious and safe blood product for a given patient.

The authors speculate, 'These important findings should encourage research into the effects of old blood and coagulation in critically ill patients. With the widespread of use of red blood cell transfusion for critically injured patients, this study has the potential to cut deaths in hospitals around the world.'

===============================
Journal reference:

Philip C Spinella, Christopher L Carroll, Ilene Staff, Ronald Gross, Jacqueline Mc Quay, Lauren Keibel, Charles E Wade and John B Holcomb. Duration of red blood cell storage is associated with increased incidence of deep vein thrombosis and in-hospital mortality in patients with traumatic injuries.

Critical Care, 2009; (in press)


วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมใหม่ในการตรวจเบาหวานโดยไม่ต้องเจาะเลือด

จาก เวบไซต์ โลกวันนี้
22 กันยายน 2552

“เครื่องตรวจหาโรคเบาหวานระยะแรก” โดยไม่ต้องเจาะเลือด “EZ SCAN” ของบริษัทฟรังโก-แปซิฟิกในฝรั่งเศส

เครื่องมือชิ้นนี้ใช้เทคโนโลยีไอออนโต หรือทำงานโดยใช้กระบวนการ reverse iontophoresis ซึ่งเป็นการดึง “คลอไรด์” และ “โพแทสเซียม” ออกมาจากต่อมเหงื่อ เพื่อวัดว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ จากปรกติที่สามารถตรวจได้จากเลือด โดยทราบผลในเวลาเพียง 3 นาที และมีความแม่นยำสูงถึง 92% ช่วยให้ตรวจพบโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากเบาหวานประเภทนี้พบมากในผู้ใหญ่ แต่ไม่แสดงอาการ จนกว่าจะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น การตรวจพบเร็ว จะช่วยให้แพทย์สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว

เครื่องมือชิ้นนี้นอกจากมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องเจาะเลือดให้เจ็บตัวแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนตรวจ ใช้งานง่าย ผู้ตรวจไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญสูง มีขั้นตอนเพียงเสียบปลั๊ก ป้อนข้อมูลอายุ เพศ น้ำหนัก ความดันเลือดของผู้จะตรวจ หลังจากนั้นไปยืนตรงจุดที่กำหนดให้ฝ่าเท้า ฝ่ามือวางลงไป และมีอุปกรณ์สวมศีรษะ ก่อนปล่อยกระแสไฟฟ้ากำลังต่ำเพียง 4 โวลต์ ซึ่งเท่ากับถ่าน 1 ก้อน จากนั้นเครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ ผู้ตรวจสามารถอ่านผลผ่านหน้าจอว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดปรกติหรือเข้าข่ายเป็นเบาหวานหรือไม่

บริษัทฟรังโก-แปซิฟิกเพิ่งเปิดตัว EZ SCAN เมื่อปี 2007 ในโซนยุโรป หลังวิจัยและพัฒนาเป็นเวลา 5 ปี และมีการวิจัยเพื่อยืนยันผลแล้วในฝรั่งเศสและอินเดีย มีจำหน่ายทั้งในยุโรปเอเชีย เช่น อินเดีย จีน และไต้หวัน

สำหรับในไทยยังอยู่ระหว่างการขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คาดว่าจะผ่านการอนุมัติในสิ้นปีนี้ ซึ่งเครื่องมือชิ้นนี้เหมาะสำหรับใช้ในโรงพยาบาล เนื่องจากมีราคาสูงราว 2 ล้านบาท และทางฟรังโก-แปซิฟิกยังมีแผนศึกษาการตรวจด้วยเครื่องนี้ร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดีด้วย

ความหวังใหม่ในการตรวจเลือดเพื่อชี้บ่งมะเร็งในลำไส้ และกระเพาะอาหาร

ที่มา เวบไซต์ abcnews
ภาพจาก oncolink
22 กันยายน 2552


นักวิจัยจากบริษัทในเบลเยี่ยมและเยอรมัน (Ulrike Stein และ Louwagie) ได้เปิดเผยถึงการค้นพบวิธีการทดสอบแบบใหม่ทางห้องปฏิบัติการ ที่จะช่วยแพทย์ตรวจหามะเร็งในลำไส้และกระเพาะอาหารได้อย่างง่ายๆ ราคาไม่แพง และพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรค โดยการเจาะเลือด แล้วตรวจหายีนที่จำเพาะ (specific genetic signals) ที่เรียกว่า S100A4

Ulrike stein กล่าวว่า 'ผู้ป่วยมะเร็งจะมีระดับยีน S100A4 สูงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่เป็นมะเร็ง การตรวจพบยีนนี้ในกระแสเลือด จะช่วยให้เราสามารถติดตามการดำเนินของโรคได้ตลอดระยะเวลาที่ให้การรักษา'

มะเร็งลำไส้มีอุบัติการณ์สูง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นลำดับที่สองของสหรัฐและยุโรป ประมาณการว่า มีคนเป็นโรคนี้ 560,000 คนต่อปี และในจำนวนนี้ เสียชีวิตถึง 250,000 คน การตรวจพบและวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มแรก จะช่วยให้อัตราการตายลดลง

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ยาต้านมะเร็งกลุ่ม PARP inhibitors : ความหวังของการรักษามะเร็ง

จาก เวบไซต์ โลกวันนี้
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2632 ประจำวัน ศุกร์ ที่ 18 กันยายน 2009

ลอนดอน : นักวิจัยสถาบันวิจัยโรคมะเร็งเต้านมอังกฤษ ค้นพบคุณสมบัติใหม่ของยารักษาโรคมะเร็งกลุ่มที่เรียกว่า PARP inhibitors อาจใช้รักษามะเร็งได้มากกว่าที่คิด ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงเมลาโนมา มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้

นักวิจัยสถาบันวิจัยโรคมะเร็งเต้านมของอังกฤษ นำทีมโดย ดร.คริส ลอร์ด เปิดเผยผลการค้นพบที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษาโรคมะเร็งในอนาคต โดยพวกเขาค้นพบคุณสมบัติใหม่ของยารักษาโรคมะเร็งกลุ่มที่เรียกว่า PARP inhibitors ว่า อาจใช้รักษามะเร็งได้หลากหลายชนิด ซึ่งหลังจากพบว่าสามารถใช้รักษามะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 และ BRCA2 ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ได้แล้ว ล่าสุดยังพบอีกว่า ยาดังกล่าวอาจใช้รักษามะเร็งที่เกี่ยวพันกับการมียีน PTEN บกพร่องได้ด้วย ซึ่งยีนดังกล่าวนี้พบในเซลล์มะเร็งหลายชนิดเช่นกัน

ทั้งนี้ นักวิจัยพบว่า เซลล์ที่มียีน PTEN บกพร่อง สามารถสนองตอบต่อยากลุ่มดังกล่าวได้มากกว่าเซลล์ปรกติถึง 25 เท่าตัว ซึ่งยีนดังกล่าว เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงเมลาโนมา มะเร็งมดลูก และมะเร็งลำไส้ระหว่าง 30-80%

สำหรับยารักษามะเร็งกลุ่ม PARP inhibitors เป็นยารักษามะเร็งวิธีใหม่เพื่อทำให้เซลล์ตาย หรือที่เรียกว่า synthetic lethality โดยยามุ่งทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ดี ด้วยการไปสกัดกั้นการซ่อมแซม DNA ของเซลล์มะเร็ง และสุดท้ายทำให้เซลล์ตาย ทำให้การรักษาส่งผลข้างเคียงกับผู้ป่วยเพียงเล็กน้อย ดังในกรณีเซลล์มะเร็งที่มียีน PTEN บกพร่อง มันจะอาศัยโปรตีนชื่อว่า PARP เพื่อป้องกัน DNA ไม่ให้ถูกทำลาย แต่ยา PARP inhibitors จะไปยับยั้งการทำงานของโปรตีนดังกล่าว และทำให้เซลล์มะเร็งตาย

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเปิดเผยว่า ยังจำเป็นต้องทดสอบต่อไปเพื่อดูว่า ยาดังกล่าวจะสามารถใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เกิดจากยีน PTEN ได้เป็นจำนวนมาก หรือใช้ได้เพียงเฉพาะราย

การแพร่ระบาดของมาเลเรียสายพันธ์ใหม่ Plasmodium knowlesi ในคน

18 กันยายน 2552
Janet Cox-Singh et al , CID 2008:46 (15 January) • 165-171

Background. Until recently, Plasmodium knowlesi malaria in humans was misdiagnosed as Plasmodium malariae malaria. The objectives of the present study were to determine the geographic distribution of P. knowlesi malaria in the human population in Malaysia and to investigate 4 suspected fatal cases.

Methods. Sensitive and specific nested polymerase chain reaction was used to identify all Plasmodium species present in

(1) blood samples obtained from 960 patients with malaria who were hospitalized in Sarawak, Malaysian Borneo, during 2001–2006;

(2) 54 P. malariae archival blood films from 15 districts in Sabah, Malaysian Borneo (during 2003–2005), and 4 districts in Pahang, Peninsular Malaysia (during 2004–2005); and

(3) 4 patients whose suspected cause of death was P. knowlesi malaria. For the 4 latter cases, available clinical and laboratory data were
reviewed.

Results. P. knowlesi DNA was detected in 266 (27.7%) of 960 of the samples from Sarawak hospitals, 41(83.7%) of 49 from Sabah, and all 5 from Pahang. Only P. knowlesi DNA was detected in archival blood films from the 4 patients who died. All were hyperparasitemic and developed marked hepatorenal dysfunction.

Conclusions. Human infection with P. knowlesi, commonly misidentified as the more benign P. malariae, are widely distributed across Malaysian Borneo and extend to Peninsular Malaysia. Because P. knowlesi replicates every 24 h, rapid diagnosis and prompt effective treatment are essential. In the absence of a specific routine diagnostic test for P. knowlesi malaria, we recommend that patients who reside in or have traveled to Southeast Asia and who have received a “P. malariae” hyperparasitemia diagnosis by microscopy receive intensive management as appropriate for severe falciparum malaria.

มาเลเรียพันธุ์ใหม่ (Plasmodium knowlesi) ระบาด นราธิวาสติดเชื้อแล้ว 1 ราย

18 กันยายน 2552
จาก เวบไซต์ ไทยรัฐ

เชื้อไข้มาเลเรียพันธุ์ใหม่ระบาดหนัก! ที่นราธิวาส พบติดเชื้อแล้ว 1 ราย รวมยอดผู้ป่วย 9 เดือนที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 26,139 ราย ตาก,ยะลา และกาญจนบุรี พบมากที่สุดตามลำดับ …


วันนี้ (17 ก.ย.) นายศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส กล่าวถึง สถานการณ์โรคมาลาเรียของประเทศไทย

ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.-29 ส.ค. 2552
พบผู้ป่วยมาลาเรียทั้งหมด 26,139 ราย
เป็นคนไทย 11,383 ราย ต่างชาติ 14,756 ราย

โดยผู้ป่วยไทย พบติดเชื้อลดลงกว่าปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 30
ส่วนผู้ป่วยต่างชาติ พบติดเชื้อเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5

จังหวัดที่พบมาก 10 ลำดับ ได้แก่
ตาก เป็นคนไทย 2,965 ราย ต่างชาติ 10,996 ราย
รองลงมา ยะลา, กาญจนบุรี, แม่ฮ่องสอน, ชุมพร, นราธิวาส, ศรีสะเกษ, จันทบุรี, สุรินทร์, และประจวบคีรีขันธ์

สำหรับจังหวัดนราธิวาสได้พบผู้ป่วยติด เชื้อโรคมาลาเรีย สายพันธุ์พลาสโมเดี่ยมโนเลไชน์ จำนวน 1 คน ที่โรงพยาบาลรือเสาะ อ.รือเสาะ ซึ่งได้รักษาอาการจนหายป่วย และได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว

นายแพทย์ศิริชัย กล่าวด้วยว่า เชื้อไข้มาลาเรียพลาสโมเดี่ยมโนเลไชน์ (Plasmodium Knowlesi) เป็นเชื้อมาลาเรียชนิดที่ 5 ที่พบในคนไทย มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค

เชื้อมีการแบ่งตัวในกระแสเลือดเร็ว และไปอุดตันเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงตับ ไต ทำให้ตับไตวาย และเสียชีวิตได้ ผู้ที่มีอาการ ไข้สูง หนาวสั่น มีประวัติเข้าป่าหรืออยู่ในพื้นที่มาลาเรียชุกชุม ให้รีบพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจหาเชื้อและให้การรักษาโดยเร็ว ประชาชนไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป เนื่องจากโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาโดยเร็ว และยังสามารถป้องกันได้โดยไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด เช่น นอนในมุ้ง ทายากันยุง หลีกเลี่ยงการเข้าป่าเขาโดยไม่จำเป็น